เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566

กัมพูชา

ความต้องการน้ำที่ทวีขึ้นในประเทศไทยทำให้ประเทศกัมพูชาขาดแคลนน้ำ กระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยาของประเทศกัมพูชาพยากรณ์ว่า อากาศจะร้อนต่อไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม และฝนจะตกน้อยกว่าปีก่อน นอกจากนี้ รูปแบบสภาพอากาศยังได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ เป็นผลให้เกิดความร้อนซึ่งจะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนสิงหาคม[6]

ไทย

ในประเทศไทย อุณหภูมิสูงเกิน 45 องศาเซลเซียสเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยจังหวัดตากมีความร้อนสูงถึง 45.4 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 15 เมษายน[3] ซึ่งทำลายสถิติเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คือ 44.6 องศาเซลเซียส[7] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม มีประกาศว่า อากาศร้อนขึ้นจนถึง 54 องศาเซลเซียส[6]

รัฐบาลไทยออกคำเตือนเกี่ยวกับสุขภาพ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นลมแดด[1][7] ในวันที่ 22 เมษายน มีคำเตือนโดยเจาะจงให้ประชาชนอยู่ในที่ร่ม[8]

ความร้อนครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน[2] การใช้งานเครื่องปรับอากาศและตู้เย็นที่ทวีขึ้นทำให้ไฟฟ้าตกในบางพื้นที่[6] อย่างไรก็ดี ฝนที่ตกในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 25 เมษายน ก็ช่วยบรรเทาความร้อนได้บ้าง[9]

นอกจากความร้อนที่ต้องเผชิญแล้ว ผู้คนหลายพันคนยังต้องหลบหลีกออกมาจากจังหวัดเชียงใหม่เพราะมลพิจากการเผาป่ารายปีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยและในประเทศเมียนมา[6]

ฟิลิปปินส์

ในประเทศฟิลิปปินส์ อุณหภูมิสูงถึง 37 องศาเซลเซียส[10] และเมื่อวันที่ 21 เมษายน ดัชนีความร้อนสูงถึง 48 องศาเซลเซียสในเมืองบูตูอัน ซึ่งสูงสุดในประเทศนี้[11]

ไฟดับที่โรงเรียนมัธยมศึกษาทำให้นักเรียนเกือบ 150 คนได้รับผลกระทบจากลมแดด มีนักเรียน 2 คนต้องได้รับการนำส่งโรงพยาบาลเป็นการด่วน[10] รัฐบาลประกาศให้โรงเรียนใช้ดุลพินิจโยกย้ายไปเรียนออนไลน์ได้ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน[12] จึงมีโรงเรียน 839 แห่งจัดให้เรียนออนไลน์เพื่อป้องกันมิให้นักเรียนล้มป่วยในช่วงอากาศร้อนนี้[13][9]

เมียนมา

เมื่อวันที่ 25 เมษายน สถานีวัดอากาศ 4 แห่งในประเทศเมียนมา ซึ่งทำหน้าที่บันทึกอุณหภูมิรายเดือน พบว่า รัฐมอญมีความร้อนสูงสุด โดยสูงถึง 43 องศาเซลเซียส วันถัดมา อากาศในเมืองพะโคสูงถึง 42.2 องศาเซลเซียส[9]

ลาว

ในประเทศลาว มีสถิติว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน อุณหภูมิที่แขวงไชยบุรีสูงถึง 42.9 องศาเซลเซียส[2][14]

สิงคโปร์

ในประเทศสิงคโปร์ อากาศร้อนสูงสุดถึง 36.7 องศาเซลเซียสในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน[10]

เวียดนาม

ในประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม จังหวัดฮหว่าบิ่ญมีสถิติอากาศสูงสุดในรอบ 27 ปี โดยสูงถึง 41.4 องศาเซลเซียส[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566 //www.worldcat.org/issn/0190-8286 //www.worldcat.org/issn/0261-3077 //www.worldcat.org/issn/0971-751X https://apnews.com/article/thailand-bangkok-extrem... https://www.axios.com/2023/04/18/deadly-heat-wave-... https://www.cnn.com/2023/04/18/asia/india-heatstro... https://www.cnn.com/2023/04/19/asia/asia-heat-reco... https://www.cnnphilippines.com/news/2023/4/24/heat... https://efe.com/en/latest-news/2023-04-24/devastat... https://www.ft.com/content/b1b07514-f1c0-4f1b-88ce...